วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ผู้จัดทำ


นางสาวกมลวรรณ ใจงาม
รหัสนักศึกษา 50152793066
ตอนเรียน A1

วัตถุประสงค์ของการตลาดระหว่างประเทศ

การที่กิจการซึ่งปกติแล้วจำหน่ายสินค้าที่ตนผลิตเฉพาะในประเทศของตนได้เปลี่ยนมาเป็นการจำหน่ายสินค้าในต่างประเทศด้วยนั้น เนื่องมาจากวัตถุประสงค์หลายประการดังต่อไปนี้
1. เป็นการระบายสินค้าส่วนเกินที่ผลิตได้ในประเทศและสามารถเพิ่มรายได้ให้กิจการ กระบวนการผลิตแบบอุตสาหกรรมในปัจจุบันทำให้กิจการสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมหาศาล และอาจมากเกินความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ เช่น ความสามารถในการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในโรงงานหนึ่งอาจผลิตได้มากจนเกินความต้องการของผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ หากสามารส่งเสื้อผ้าสำเร็จรูปดังกล่าวไปจำหน่ายในประเทศอื่นได้ ย่อมจะเป็นผลดีกว่าการที่จะลดกำลังผลิตให้พอดีกับความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ เพราะการลดกำลังการผลิตจะไม่ทำให้ต้นทุนสินค้าลดลงนอกจากนี้ยังทำให้บริษัทมีรายได้และผลกำลังเพิ่มมากขึ้น
2. เป็นการลดต้นทุนสินค้าลง ในการผลิตสินค้าออกจำหน่ายนั้น จะประกอบด้วยต้นทุนส่วนที่เป็นต้นทุนที่ผันแปรตามจำนวนผลิต เช่น ในการผลิตรถยนต์ ต้นทุนผันแปร ได้แก่ วัตถุดิบต่างๆ (Material) ที่นำมาประกอบกันขึ้นมาเป็นรถยนต์ และแรงงานโดยตรง (direct labor) ที่ใช้ในการผลิตและประกอบรถยนต์ อีกส่วนหนึ่งได้แก่ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) ซึ่งจะเป็นต้นทุนที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตามจำนวนที่ผลิต ไม่ว่าจะผลิตมากหรือน้อยต้นทุนดังกล่าวก็จะคงเดิม เช่น ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา ถ้าบริษัทรถยนต์ต้องจ่ายไปเป็นจำนวน 100 ล้านบาท และผลิตรถยนต์ออกจำหน่ายได้ 500,000 คัน ต้นทุนต่อคันก็จะเป็น 200 บาท แต่ถ้าจำหน่ายได้ 100,000 คัน ต้นทุนต่อคันก็จะเป็น 1,000 บาท ต้นทุนคงที่มีอยู่หลายรายการ แต่ละรายการอาจมีมูลค่า การที่กิจการสามารถขยายตลาดไปต่างประเทศโดยผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นจะทำให้ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยดังกล่าวลดลงเป็นอย่างมาก
3. การขยายตลาดไปในหลายๆประเทศเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ การที่กิจการสามารถจำหน่ายสินค้าได้ในหลายประเทศทำให้เป็นการลดความเสี่ยงจากการดำเนินงานมากกว่าที่จะจำหน่ายสินค้าอยู่เพียงประเทศเดียว กล่าวคือ การจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคในประเทศต่างๆ จะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมหลายชนิด แต่ที่สำคัญได้แก่ สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว หากจำหน่ายอยู่แต่ในประเทศใดประเทศหนึ่งแล้วเศรษฐกิจของประเทศนั้นตกต่ำลง ก็ย่อมจะกระทบต่อการดำเนินงานของกิจการโดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการขนาดใหญ่ที่มีต้นทุนคงที่สูงๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัทรถยนต์แห่งหนึ่งผลิตและจำหน่ายอยู่เพียงประเทศเดียว เช่น ประเทศไทย ถ้าเศรษฐกิจประเทศไทยตกต่ำและยอดจำหน่ายรถยนต์บริษัทนั้นลดลงร้อยละ 70 อย่างต่อเนื่องประมาณ 3-5 ปี กิจการนั้นอาจต้องเลิกกิจการและหากประเทศไทยมีเศรษฐกิจดีขึ้นก็ยากต่อการที่จะจัดตั้งกิจการขึ้นมาใหม่ แต่หากมีการจำหน่ายในหลายประเทศ ถ้าเกิดปัญหาในประเทศหนึ่งกิจการก็ยังอาจมีรายได้จากประเทศอื่นๆและไม่ต้องเลิกกิจการ เมื่อเกิดปัญหาเศรษฐกิจในประเทศไทยหมดไปก็สามารถขยายยอดขายได้ตามปกติ
4. เป็นการเรียนรู้เทคโนโลยีจากแหล่งต่างๆทั่วโลก ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีในโลกเกิดจากหลายแห่ง เช่น ยุโรป อเมริกาและเอเชีย การที่กิจการขยายตลาดสินค้าของตนไปยังประเทศต่างๆ จะทำให้ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีกับประเทศอื่นๆ เช่นการที่บริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์ บูอิค โอลสโมบิล เชพโรเล่ท์ ออกจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อบริษัทขยายการดำเนินงานและขยายการตลาดเข้าไปในยุโรป บริษัทต้องมีการเรียนรู้และสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆขึ้นมา เนื่องจากรถยนต์ที่จะจำหน่ายในยุโรปจะต้องมีความแตกต่างจากรถยนต์ที่จำหน่ายในสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ รถยนต์ที่จำหน่ายในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในยุคแรกๆ จะเน้นที่ความสะดวกสบาย มีขนาดใหญ่และใช้เครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่มากๆเพื่อให้มีกำลังเพยงพอ โดยไม่คำนึงถึงการกินน้ำมันของรถยนต์เนื่องจากราคาน้ำมันในสหรัฐอเมริกามีราคาถูก แต่รถยนต์ในยุโรปจะเน้นความประหยัด มีขนาดของตัวถึงแคบ เนื่องจากหลายๆเมืองในยุโรปมีอายุหลายร้องปีและมีถนนที่มีขนาดเล็กมาก และต้องใช้เครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็กเนื่องจากบางประเทศ รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่จะเสียภาษีแพงมากทั้งราคาน้ำมันในยุโรปก็แพงด้วย และจะต้องเป็นเครื่องยนต์ที่มีสมรรถนะสูงวิ่งเร็วแม้จะเป็นเครื่องขนาดเล็กก็ตาม ทำให้บริษัทเจเนอรัลมอเตอร์ (GM) ต้องพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีให้ทันกับคู่แข่งในยุโป รถของจีเอ็มในยุโรปได้แก่ โอเปิล จึงมีสมรรถนะสูงกว่ารถในอเมริกา โดยเฉพาะในช่วงก่อนปี 1975 แต่ภายหลังเกิดวิกฤติการณ์น้ำมัน ทำให้จีเอ็มในสหรัฐต้องปรับรูปแบบของรถยนต์ให้มีขนาดเล็กลงและมีประสิทธิภาพดีขึ้นกินน้ำมันน้อยจีเอ็มสามารถทำได้โดยการนำเทคโนโลยีจากโอเปิลมาใช้ได้ในทันที
5. ได้เรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภค กลยุทธ์ทางการตลาดในแต่ละประเทศอาจแตกต่างกัน กิจการที่มีกิจกรรมทางการตลาดในหลายประเทศ อาจนำความแตกต่างกันนั้นมาแลกเปลี่ยนกันระหว่างสาขาของประเทศต่างๆ เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคในประเทศต่างๆอาจมีความแตกต่างกันในเบื้องต้น กิจการที่ขยายตลาดไปยังประเทศต่างๆจึงต้องเรียนรู้และปรับผลิตภัณฑ์ของตนให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ แต่การเรียนรู้ในความแตกต่างเหล่านั้นจะทำให้เกิดแนวคิดทางการตลาดใหม่ๆขึ้นมา ซึ่งสามารถนำไปใช้กับประเทศอื่นได้ ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ การทำตลาด การส่งเสริมการจำหน่ายและสิ่งอื่นๆ

ที่มา : การตลาดระหว่างประเทศ , อาจารย์สุดาพร กุณฑลบุตร , พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2546

การตลาดภายในประเทศ

          หมายถึงการตลาดที่มุ่งจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคภายในประเทศที่กิจการตั้งอยู่ เป็นลักษณะที่พบได้โดยทั่วไปในกิจการที่มีการจำหน่ายสินค้าเฉพาะท้องถิ่น โดยไม่ได้มีการจำหน่ายสินค้าของตนให้กับลูกค้าในต่างประเทศ อาจมีกรณีที่เป็นลูกค้าต่างประเทศตามแนวชายแดนแต่ยอดจำหน่ายให้กับลูกค้าตามแนวชายแดนจะมีในสัดส่วนที่ไม่สูงเมื่อเทียบกับการจำหน่ายภายในประเทศ ทำให้กิจการไม่จำเป็นต้องปรับผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเหล่านั้น ปัจจัยสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการตลาดภายในประเทศได้แก่การเกี่ยวข้องกับการเมืองเศรษฐกิจและสังคมเพียงกลุ่มเดียวซึ่งได้แก่ภายในประเทศของตนเหล่านั้น ผลกระทบที่ได้รับจากการเมือง เศรษฐกิจและสังคมจากภายนอกประเทศอาจเป็นโดยทางอ้อมไม่ใช่โดยทางตรง ลักษณะของการตลาดภายในประเทศจะเป็นเนื้อหาที่พบโดยทั่วไปในเรื่องของหลักการตลาด (principle of marketing)

ที่มา : การตลาดระหว่างประเทศ , อาจารย์สุดาพร กุณฑลบุตร , พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2546