วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

คำศัพท์การตลาดระหว่างประเทศ

Domestic Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการทางการตลาดภายในประเทศ ระยะนี้ ถือเป็นระยะเริ่มแรกในการทำธุรกิจ โดยธุรกิจจะเริ่มจากการทำการตลาดภายในประเทศ โดยจะมีการศึกษาตลาด หาข้อมูลทางการตลาด จากข้อมูลภายในประเทศ เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางกลยุทธ์ และ การวางแผนในการทำธุรกิจ เช่น

  • การหาข้อมูลความต้องการจากลูกค้าภายในประเทศ


  • แนวโน้มการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ


  • แนวโน้มการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมของตลาดในประเทศ


  • การพัฒนาเทคโนโลยี และ สภาพแวดล้อมทางการเมืองภายในประเทศ

ทั้งนี้ การศึกษาคู่แข่ง ก็ควรศึกษาคู่แข่งจากภายในประเทศ โดยวิเคราะห์คู่แข่งออกมาด้วย เพื่อจะได้รู้ทิศทางการตั้งรับ หรือ จู่โจมทางการต่อสู้ ซึ่งคู่แข่ง ในDomestic Marketingนี้ คือคู่แข่งที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในท้องถิ่นเดียวกัน ซึ่งอาจมาได้จาก คู่แข่งในประเทศ หรือ คู่แข่งจากตลาดระหว่างประเทศ ที่เข้ามาในท้องถิ่นนั้นๆ

Export Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการทางการตลาดโดยการส่งออกไปยังตลาดระหว่างประเทศ
ระยะนี้ เป็นระยะที่พัฒนามาจาก Domestic Marketing ซึ่งเมื่อธุรกิจได้มีการดำเนินธุรกิจในตลาดในประเทศไปได้ระยะหนึ่งแล้ว อาจจะพบว่า ตลาดที่ทำอยู่ มีความแคบลง หรือ คู่แข่งมีมาก หรือ พอมองเห็นกำไรจากตลาดอื่นๆ และ อาจจะพบว่าคลังสินค้า มีสินค้าคงเหลืออยู่มากเกินไป เลยต้องหาตลาดใหม่ในการกระจายสินค้าบ้าง ดังนั้นเลยเป็นที่มาของการส่งออก วิธีนี้ ต้องเน้นไปที่การตอบสนองความพอใจของลูกค้า และ สร้างความพึงพอใจของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศให้ได้ การส่งออกนี้ ถือว่าเป็น ขั้นตอนแรกของการทำธุรกิจระหว่างประเทศ มีความซับซ้อนน้อย และง่ายที่สุดในการเริ่มต้นทำธุรกิจระหว่างประเทศ

International Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศ ระยะนี้ เป็นการพัฒนามาจาก ระยะ Export Marketing ซึ่งเมื่อทำการส่งออกไปได้ ซักระยะ ธุรกิจอาจจะมีความประสบความสำเร็จ แต่เมื่อไปได้อีกสักพัก ธุรกิจอาจจะค้นพบว่า มีอุปสรรค และ ปัญหาต่างๆ ที่ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศ ต้องสะดุด เช่น

  • ความต้องการที่แตกต่างกัน ของลุกค้าในตลาดระหว่างประเทศ แต่ละแห่ง


  • ความแตกต่างทางด้านกฏหมาย และ ข้อบังคับในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง


  • ความแตกต่างทางด้านอัตราค่าขนส่ง และ อัตราค่าภาษีกรมศุลกากร ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง


  • ความแตกต่างทางด้านกายภาค และ สภาพแวดล้อมของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง


  • การกีดกันทางการค้า ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง


ปัญหา และ อุปสรรคที่กล่าวไป เป็นสิ่งทีทำให้เกิดปัญหาในการส่งออกทั้งสิ้น เช่น
-เช่นทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้น
-ทำให้การขนส่งสินค้าไปจำหน่ายในตลาดระหว่างประเทศ เป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น

วิธีแก้ปัญหาจากอุปสรรคเหล่านี้ ผู้ประกอบการ หรือ นักการตลาดระหว่างประเทศ ต้อง พยายามปรับกลยุทธ์ ตามตลาดแต่ละประเทศ เพื่อ หลีกเลี่ยงอุปสรรคเหล่านั้น เช่น
-เลือกการจ้างผลิต หรือ ทำการตั้งฐานการผลิต ในตลาดระหว่างประเทศ แทนการส่งออก

Multinational Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดนานาชาติ
ระยะนี้ เป็นระยะที่ พัฒนามาอีกขั้น จาก International Marketing คือเมื่อรับรู้ และ เข้าใจถึงปัญหา อุปสรรค ความคล้ายคลึง หรือ ความแตกต่างของตลาดแต่ละแห่งแล้ว ธุรกิจก็จะสามารถสร้างผลประโยชน์เข้ามาสู่กิจการได้ เช่น
-ทำให้ธุรกิจระหว่างประเทศสามารถสร้างผลประโยชน์จากขนาด Economic of Scale
-ทำให้ธุรกิจระหว่างประเทศสามารถสร้างผลประโยชน์จากการประหยัดทรัพยากรร่วมกัน
Economic of scope

Global Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาไปสู่จุดที่เรียกว่า ตลาดระดับโลก ระยะนี้ เป็นระยะ ที่มีแนวความคิด ที่ได้เปรียบมาก จากเริ่องของทรัพยากร เช่น ต้นทุน และ มีการบริการการจัดการ แบบรวมอำนาจ คือ มีการตั้งบริษัทแม่ แล้ว มีเครือข่าย สาขา ขยายออกไปทั่วโลก ระยะนี้ จะให้ความสำคัญกับ
-มองตลาดโลก เป็นตลาดแห่งเดียว
-พยายามลดต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่าย การทำงานที่ซ้ำซ้อนลง ของแต่ละสาขาทั่วโลก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
-จะมีการเปลี่ยนแนวความคิด และมีการ แลกเปลี่ยน เคลื่อนย้าย ทุน แรงงาน สินค้า เทคโนโลยี ข้ามสาขากันทั่วโลก
-จะมีการพัฒนาโครงสร้างทางการติดต่อสื่อสาร และ เครือข่ายทางการตลาดระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนากลยุทธ์ระดับโลก

Gross National Product –GNP- คือ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ
คือ มูลค่าของสินค้า และ บริการ ขั้นสุดท้ายอันเกิดจาก การดำเนินการสร้างมูลค่าของประชาชน หรือ ธุรกิจ ประเทศนั้นๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือ มูลค่า จากทรัพยากรที่ประชาชนประเทศนั้นเป็นเจ้าของ
** -GNP สามารถคิดได้อีกแบบ หนึ่ง คือ นำผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศบวกกับมูลค่าที่ประชาน หรือ ธุรกิจของประเทศนั้นๆ สามารถสร้างในต่างประเทศแล้วหักออกด้วยรายได้ ของชาวต่างชาติ

Non-Tariff Barriers คือ การกีดกันแบบอื่นๆ คือ การตั้งข้อบังคับอื่นๆ เพื่อกีดกันการนำเข้าสินค้า และ บริการ หรือ ทำให้การนำเข้าเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น เช่น ตั้งมาตรฐานสินค้า และ บริการ ให้สูงมากๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น